ดูแลตัวเองอย่างไร ให้ห่างไกล Office Syndrome

ออฟฟิศซินโดรม เป็นอาการที่กำลังแพร่หลายในหมู่คนทำงานออฟฟิศ ออฟฟิศซินโดรมเกิดขึ้นมานานแล้ว และเป็นอาการที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ตราบใดที่เรายังต้องนั่งทำงานที่ออฟฟิศทั้งวัน โดยไม่ขยับตัวไปไหนเลย ซึ่งหลายๆคนที่มีอาการของ Office Syndrome ก็มักจะไปหนวดผ่อนคลาย เพื่อลดอาการ ซึ่งเป็นวิธีแก้ที่ปลายเหตุ หรือบางคนมีอาการมากๆ ก็ต้องรับประทานยาแก้ปวด จนบางทีกลายเป็นติดยาแก้ปวดไปอีก และอาจนำมาซึ่งโรคเรื้อรังอื่นๆตามมาจากการรับประทานยามากเกินไป 

ปัจจุบัน Office Syndrome  เริ่มเป็นอาการที่ยิ่งแพร่หลายมากขึ้นไปอีก เพราะการที่ต้องทำงานอยู่กับบ้าน (Work from Home) ทำให้ช่วงเวลาของการนั่งติดอยู่กับที่นานๆ เริ่มขยายเวลามากขึ้น จากที่เคยแค่นั่งหน้าคอมพ์เพื่อพิมพ์งาน กลายเป็นต้องนั่งหน้าจอเพื่อประชุมออนไลน์กันทีหนึ่ง 4-5 ชั่วโมง บางทีไม่ได้ลุกไปไหนเลย ทำให้ ออฟฟิศซินโดรมกลับมาเป็นอาการยอดฮิตอีกครั้ง และทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานและใช้ชีวิต

เมื่อเป็นอาการยอดฮิต ที่คนที่ทำงานนั่งโต๊ะเป็นเวลานานมักจะเคยเป็น เราลองมาทำความรู้จักกับ ออฟฟิศซินโดรม สักหน่อยดีกว่านะคะ

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?

ออฟฟิศซินโดรม เป็นอาการปวดกล้ามเนื้อ ที่เกิดจากการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่มีการผ่อนคลายหรือเปลี่ยนอิริยาบถ

อาการปวดกล้ามเนื้อนี้ ถ้ามีอาการเป็นระยะเวลานาน อาจจะลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง และชาที่แขนหรือมือ เพราะเส้นประสาทส่วนปลาย ถูกกดทับอย่างต่อเนื่องได้

อาการของ ออฟฟิศซินโดรม

  • จะมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง ตรง คอ บ่า ไหล่ สะบัก และหลัง หรือบางครั้งก็ไม่สามารถระบุบริเวณที่ปวดได้อย่างชัดเจน ถ้าเป็นมาก อาจมีอาการปวดร้าวร่วมด้วย
  • มีอาการชา และอ่อนแรง บริเวณแขนและมือ ซึ่งเกิดจากการที่เส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับเป็นเวลานาน 

ดูแลตัวเองอย่างไร ไม่ให้เป็นออฟฟิศซินโดรม

  • ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ทุกๆครึ่งชั่วโมง ควรลุกเดินไปเดินมาซัก 10 นาที เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อถูกดทับจากการนั่งในท่าเดียวนานๆ
  • เตรียมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้พร้อม เช่น ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ หรือการยืดเส้นบ้างในเวลาที่ว่าง จะเป็นการช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงก่อนและหลังทำงาน ควรยืดเส้นซักประมาณ 5-10 นาที
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการพักผ่อนน้อยเกินไปจะทำให้ร่างกายเกิดความเครียด และแสดงออกด้วยการปวดตามร่างกาย

การรักษาอาการ Office Syndrome

  • รับประทานยาแก้ปวดตึงกล้ามเนื้อ ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ และไม่ใช่วิธีที่ยั่งยืน และถ้ารับประทานมากๆ ก็อาจทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมาอีกด้วย
  • นวดผ่อนคลาย ซึ่งก็เป็นวิธีแก้ที่ปลายเหตุอีกเช่นกัน
  • การใช้วิธีกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อ วิธีนี้ต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัย และรักษา 
  • การใช้เลเซอร์ช่วยบำบัดอาการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องใหม่ ที่สามารถช่วยลดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ ด้วยการใช้เครื่อง Indiba ที่ใช้นวัตกรรม Proionic  ซึ่งเป็นเลเซอร์ที่ถูกพัฒนามาเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อในระดับเซลล์

โปรแกรม Indiba ทำงานโดยใช้วิทยุคลื่น 448 ความถี่ 0.5 MHz เซลล์ ที่จะเข้าไปนวด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อตามจุดต่างๆ  เช่น บ่า ไหล่ หลัง และบรรเทาอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อที่บ่า ไหล่ หรือเส้นเอ็นและกระดูก รักษาได้ทั้งอาการบาดเจ็บเฉียบพลัน หรืออาการปวดเรื้อรัง

โปรแกรม Indiba ใช้นวัตกรรม Proionic ที่จะลงลึกไปฟื้นฟูเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell) ด้วยวิทยุคลื่น 448 KHz ผ่านหัวอิเล็กโทรดหลายแบบเพื่อให้เหมาะกับแต่ละเคส มีความปลอดภัย และสามารถรักษา ซ่อมแซมกล้ามเนื้อ ที่มีอาการบาดเจ็บได้เป็นอย่างดี

โปรแกรม Indiba ช่วยเรื่องใดได้บ้าง?

  • ช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บ ปวดเมื่อย และการอักเสบของกล้ามเนื้อ
  • กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ ในระยะยาว
  • ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่มีอาการปวดเมื่อย หรือบาดเจ็บ
  • ช่วยให้เซลล์ต่างๆในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • รักษาอาการปวดเรื้อรัง
  • บำบัดร่างกายที่เซลล์ต้นกำเนิด ทำให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น

การใช้เลเซอร์ช่วยบำบัดอาการออฟฟิศซินโดรม เป็นการบำบัดที่ตรงจุด และช่วยได้ในระยะยาว ไม่มีอันตรายใดๆ แต่อย่างไรก็ดี การป้องกันและดูแลตัวเองให้แข็งแรงจากภายใน ทั้งการออกกลังกายให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น แข็งแรงอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้ร่างกายเครียดจนเกิดไป จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิด Office Syndrome ได้ 

สนใจบำบัดอาการ Office Syndrome  ด้วยโปรแกรม Indiba  สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 

Line:@lagraceclinic , FB:lagracebeautyclub , IG:lagracebeautyclub , โทร : 087-494-4000 , 087-494-9000

Similar Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *